วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

      การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการ สอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
     การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.
การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการ หรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.
ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4.
การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
บทบาทของการเป็นผู้นำของครู ออกเป็น 3 ประเภท
1.
ครูที่มีเผด็จการ ลักษณะของครูเช่นนี้ จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้น การถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.
ครูที่มีความปล่อยปะละเลย ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.
ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหา ต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของนักเรีย

กิจกรรมที่ 6

         วิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก 
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด 
          มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ

๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู
 มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่

มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม 

การนำไปประยุกต์ใช้          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่  ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
"คุณครู" ต้นแบบแห่งการเรียนรู้

เราจะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่าต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบ ต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ มีใครเคยสงสัยไหมว่าต้นแบบ คืออะไรทำไมต้องมีครูต้นแบบเกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ?แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5%ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชูเผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ ต้นแบบ
ดังนั้นพวกเราชาวครูทั้งหลายคงทราบแล้วว่าครูต้นแบบโรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมาทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครูและสังคมเพียงใด ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบอีกทั้งถ่ายทอดขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการแต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบพวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหนท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัวท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบแม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก  แต่ท่านอาเป็นแรงบันดาลใจเป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่าน คุณครูและเราก็ต้องเป็นแบบอย่างของต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนะครับ

การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
เราสามารถที่จะครูต้นแบบไปพัฒนาในชีวิตประจำวันได้ในหลายๆด้านเช่นการเป็นอยู่และการพัฒนาตัวเองเนื่องจากเรานั้นจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคคนอื่นนั้นเคารพนับถือเราและมีความไว้ว่างใจกับเราเพราะคนที่จะเป็นต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอดดังนั้คนที่จะได้คำๆนี้มานั้นก็จะต้องฝันฝาอุปสรรคหลายๆอย่างกว่าจะได้มาดังนั้นเราควรที่จะเอาเป็นแบบอย่างเหมือนกับคำว่าครูในต้นแบบแห่งการเรียนรู้



                        
           
   สิ่งที่รับจากการที่ได้เรียนรู้จากการอ่านบทความ      
 จากการอ่านบทความสิ่งที่ได้  คือ  การเป็นภาวะผู้นำในอดีตกับปัจจุบันยังคงมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งการจัดการของคนนั้นหากให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่ใช้การจัดการ ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจะให้สำเร็จนั้นจะต้องมีความศรัทธา ในส่วนของวิสัยทัศน์บางครั้งอาจมีน้ำหนักไม่เพียง การสร้างศรัทธาในที่นี้เป็นการสร้าง ความชอบ ความเชื่อ และเรื่องของการยอมรับ ซึ่งมันไม่ต้องมีเหตุผล ในการสร้างศรัทธาในตัวของผู้นำคือ ผู้ให้ ซึ่งผู้ให้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเห็นได้ว่าธุรกิจใในปัจจุบันนั้นจะเป็นการแข่งขัน เป้าหมายของการแข็งขันคือชัยชนะ แต่การชัยชนะของผู้นำที่แท้จริงจะมองรางวัลที่ได้เป็นรางวัลของสำหรับทุกคน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีคนที่เป็นผู้นำที่แท้จริงอยู่ ผู้นำในส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่มาโดยต่ำแหน่งกันมากกว่า ดั้งนั้นการเป็นผู้นำที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ ซึ่งภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นเรื่องที่คู่กัน  และผู้นำจะต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้ให้ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์งานกันอย่างมีประสิทธิภาพ


วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ


ประวัติอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2492 ที่อำเภอสันกำแพง
จังหวัดเชียงใหม่

การศึกษา มัธยมศึกษา- โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ อุดมศึกษา- พ.ศ. 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10พ.ศ. 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26
ปริญญาโท - ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) Eastern Kentucky University สหรัฐอเมริกา
สาขา Criminal Justice

ปริญญาเอก
- Sam Houston State University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
ประวัติการทำงาน :
พ.ศ. 2541-2543
- ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
พ.ศ. 2539-2540 - ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
(ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
พ.ศ. 2538-2539

- ตำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร
(ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา)
- เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม
พ.ศ. 2537-2538 - ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. 2530-2537 - ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว
- ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด
พ.ศ. 2516-2530 - รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/
กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
บทบาททางสังคม :
รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
สภามหาวิทยาลัย 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำดาวเทียมสื่อสาร
"ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาผ่านดาวเทียมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบท
ผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถเรียนต่อได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้รับ
ความร่วมมือจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา ปี 2538 - ปัจจุบัน
เป็นกรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB
เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลเกียรติคุณ :
2539
- ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards
จาก Criminal Justice Center, Sam Houston State University และ
ได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2539
2538
- ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์
เข้ารับรางวัลจากสถานฑูตฟิลิปปินส์
2537
- ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย
ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย
- ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น
1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย
- ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา
ให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year ได้รับ พระราชทานปริญญา
วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับทุน
1.             ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2.             นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บบล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
1.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้
2.นักศึกษาอธิบายคำศาสตร์และศิลป์ ขอตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์คือ ความรู้ที่ถูกต้อง แนวคิดดี ๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำรา คำพูด หรืออื่นๆตามความสามารถผู้ที่จะรับหรือศึกษาศาสตร์นั้นๆ บางคนอาจจะศึกษาทั้งชีวิตแต่ไม่บรรลุ เช่น ทางด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ส่วนศิลป์ คือ การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศิลป์เป็นเรื่องของหัวคิด สมอง ความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น
3.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อๆพอสังเขป ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 1 1. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย 3. ใช้ระบบเผด็จการ 4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า 5. มีระบบศักดินา พื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical 1.เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ.1880 2.บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น 3. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ.1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 2 1. มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม 2.มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ 3.มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว 4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ 5.เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด ขจัดความไม่ยุติธรรม นักคิดในทางบริหารFrederick W. Taylor ( บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์ ) เป็นชาวเยอรมัน ได้พัฒนาหลักการ การบริหารไว้ 4 ข้อ ดังนี้ 1.งานทุกงานต้องกำหนดวิธีการอ่าน และทุกคนต้องปฏิบัติตาม 2. มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนงาน 3. ทุกคนต้องได้รับการอบรม 4. ฝ่ายบริหารต้องร่วมมือกับพนักงานTaylor ใช้เทคนิคการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Time – and – motion Study ( 1. เวลาที่จะใช้มนุษย์ทำงาน 2. หลักการกำหนดค่าจ้าง กำหนดตามลักษณะงาน 3. การแยกการวางแผนออกจากการปฏิบัติงาน )Henri Faylo นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส บิดาแห่งทฤษฎีการบริหาร ได้กำหนดขั้นตอนของการบริหารไว้ คือ 1.การวางแผน ( Planning ) 2.การจัดองค์การ( Organizing ) 3.การบัญชาการ( Commanding )4.การประสานงาน( Coordinate )5.การควบคุม( Control )Faylo เสนอหลักการบริหาร 14 หลัก ดังนี้ 1.แบ่งงานกันทำ 2.อำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา 3.การมีระเบียบวินัย 4.ความเป็นเอกสารในการบังคับบัญชา 5.หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรอง องค์การเป็นหลัก 6.หลักความเอกภาพในทิศทาง 7.ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ 8.ความยุติธรรมต่อนายจ้าง และลูกจ้าง 9.หลักการมีสายบังคับบัญชา 10.หลักความเป็นระเบียบแบบแผน 11.ความเสมอภาค 12.ความมั่นคงในการทำงาน 13. หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ 14.หลักความสามัคคีหรือมีน้ำใจMax Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ( บิดาแห่งราชการ )เป็นนักคิดการบริหารแบบระบบราชการ นำไปใช้บริหารองค์กรได้ดี 7 ประการ ดังนี้ 1.การมีกฎระบียบข้อบังคับ 2.ไม่ยึกติดตัวบุคคล ไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัว 3.หลักแบ่งงานกันทำ 4.มีโครงสร้างสายบังคับบัญชา 5.ความเป็นรอาชีพที่มั่นคง 6.มีอำนาจในการตัดสินใจ 7.มีเหตุผลยุคที่ 3วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relation ) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจElton Mayo ได้ทำการทดลอง ที่เป็นที่รู้จักในนาม ฮอธอร์น ศึกษาที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท เวสเทอร์น อิเล็กตริก เริ่มในปี พ.ศ. 1924 – 1927 ผลการศึกษา 1.สถานที่ของห้องทำงาน เรื่องของแสงสว่างที่มีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิต 2.กลุ่มมีผลต่อการปฏิบัติงานของคน 3.ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลกระทบต่อผลงานของคน 4.ทัศนคติของพนักงานมีผลต่อการผลิตของงานข้อเสนอแนะของ Mayo 1.หาทางแก้ไขด้านบริหาร 2.ใช้ประโยชน์จากวิชาความรู้สาขาต่าง ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์ 3.นำวิธีการทางมนุษยสัมพันธ์มาใช้อย่างถูกต้อง 4.มีการจูงใจพนักงาน 5.มีการสื่อสารที่ดีในองค์การแนวความคิดกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ เน้นเรื่อง 1.ภาวะผู้นำ ( Leadership ) 2.ทัศนคติในงาน ( Job attitudes )3.พลวัตรของกลุ่ม ( Group dynamic )ในยุคนี้ให้ความสำคัญกับคนและกลุ่มทำงาน ยุคที่ 4 ยุค Behavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มปี 1958 - ปัจจุบัน (10 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 )เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกัน คือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด ( Chester I Barnard ) ชาวอเมริกัน ซี่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ เชื่อว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดเชื่อว่าการโน้มน้าวจิตใจมี 2 ลักษณะเฉพาะเจาะจง คือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และลักษณะทั่วไป คือเรื่องความรู้สึก ดักกลาส แมกเกอเกอร์ ( Douglas McGregor s ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามี 2 แบบ คือ 1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล 2.Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มีอิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ 1.ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน 2.ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน 3.ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง
4.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎี x ทฤษฎี y
ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเองขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป
  ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
  แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
1. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Trait Theories)
2. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
3. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership
Theories)4.ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)
  ทฤษฎี X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
  ทฤษฎี Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรร และมีศักยภาพในตนเอง คนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
5.ทฤษฎีอธิบายมนุษย์สัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และSuperego
อ้างอิง
http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km9.pdf
http://www.google.co.th/#hl=th&biw=1362&bih=516&rlz=1W1ADFA




    กิจกรรมที่1
ให้นัก€ศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา
การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
ห้องเรียน เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน เช่น ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม ค่านิยม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านการสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน


อ้างอิง
http://www.thailocaladmin.go.th/work/e_book/eb6/eb6_3/3km9.pdf
http://www.google.co.th/#hl=th&biw=1362&bih=516&rlz=1W1ADFA


วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว



ประวััติส่วนตัว


ชื่อ อัสรียะห์ ยูโซะยากอ
วัน/เดือน/ปีเกิด  10 สิ่งหาคม 2532  อายุ  20  ปี

ศาสนา  อิสลาม  สัญชาติ  ไทย
บ้านเลขที่  105/2  หมู่  2  ต.ลาโละ  อ.รือเสาะ  จ.นาธิวาส
เบอร์ติดต่อ  0848605046

ประวัติการศึกษา

อนุบาล ประธมศึกษา จากโรงเรียน บ้านลาโละ
มัธยมต้นจาก ดารุสสาลาม
มัธยมปลายจาก ดรุณศาสตร์วิทยา
ปัจจุบัน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีรรมราช

ปรัชญา


คนค้นคนคือครู                 คนควรคู่คือครูควรค่า
คนใคร่ค้นคือครูคบค้า       ครูคุณค่าคือครูคู่ค่าคน
  

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การศึกษาในชั้นเรียน

บทความนี้
อาจทำให้ความคิด ความรู้สึก ของคุณเปลี่ยนไป
ร่วมสัมผัสความรู้สึกนี้ด้วยตัวคุณเอง
พร้อมเปิดหัวใจดวงน้อยๆ
ที่จะทำให้โลกของคุณอบอวนไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า "รัก"