วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

      การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ การเป็นครูมืออาชีพนั่นจะต้อง เป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนการ สอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
     การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียน รวมไปถึงการจัดตกแต่งห้องเรียนให้บรรยากาศน่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน
1.
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียน
2.
การกำหนดคุณลักษณะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้ล่วงหน้าจะมีประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการจัดการชั้นเรียน เพราะจะทำให้นักเรียนมีแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองโดยไม่แสดงอาการ หรือพฤติกรรมที่จะเป็นการรบกวนการเรียนของผู้อื่น
3.
ชั้นเรียนที่มีการจัดการกับพฤติกรรมนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
4.
การจัดการในชั้นเรียนให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทร
ดังนั้นความสำคัญของการจัดการในชั้นเรียน เป็นการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
บทบาทของการเป็นผู้นำของครู ออกเป็น 3 ประเภท
1.
ครูที่มีเผด็จการ ลักษณะของครูเช่นนี้ จะต้องมีความเชื่อว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการสอนจึงเน้น การถ่ายทอดความรู้โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นครูเป็นสำคัญ
2.
ครูที่มีความปล่อยปะละเลย ครูประเภทนี้มีลักษณะอ่อนโยน
3.
ครูที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย ครูประเภทนี้พร้อมที่จะตัดสินใจในปัญหา ต่างๆ แต่ก็ยอมรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของนักเรีย

กิจกรรมที่ 6

         วิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก 
          มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด 
          มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ

๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู
 มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่

มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม 

การนำไปประยุกต์ใช้          เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่  ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
"คุณครู" ต้นแบบแห่งการเรียนรู้

เราจะเห็นว่าในปัจจุบันเราได้ยินคำว่าต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือ ครูต้นแบบ ต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ มีใครเคยสงสัยไหมว่าต้นแบบ คืออะไรทำไมต้องมีครูต้นแบบเกิดประโยชน์อะไรถึงจะต้องคัดเลือกกันด้วยกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน ประเมินแล้วประเมินเล่า เสียงบประมาณมากมาย มีหลายหน่วยงานทำเรื่องเดียวกันจนกลายเป็นว่า ต้นแบบของใครจะดีกว่า ?แล้วก็ได้ต้นแบบมาไม่ถึง 5%ของครูทั้งหมด มีการยกย่องเชิดชูเผยแพร่ ออกข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แล้วคนที่ไม่ได้เป็นต้นแบบจะได้อะไร รู้สึกรู้สาอะไรกับ ต้นแบบ
ดังนั้นพวกเราชาวครูทั้งหลายคงทราบแล้วว่าครูต้นแบบโรงเรียนต้นแบบศึกษานิเทศก์ก็ต้นแบบ และต้นแบบอีกสารพัดที่กำลังจะตามมาทรงคุณค่าของการเป็นแบบแก่ครูและสังคมเพียงใด ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบอีกทั้งถ่ายทอดขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการแต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบพวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหนท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัวท่านได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก สำหรับบางท่าน.......แม้ไม่มีองค์กรใดมารับรองว่าท่านเป็นต้นแบบแม้ท่านส่งผลงานเข้ารับเลือกเป็นต้นแบบแล้ว......ท่าน ไม่ได้รับเลือก  แต่ท่านอาเป็นแรงบันดาลใจเป็นต้นแบบของดวงตาคู่น้อย ๆที่จับจ้องดูทุกกิริยาของท่าน และท่านเป็นต้นแบบตั้งแต่มีเสียงเรียกท่าน คุณครูและเราก็ต้องเป็นแบบอย่างของต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนะครับ

การนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
เราสามารถที่จะครูต้นแบบไปพัฒนาในชีวิตประจำวันได้ในหลายๆด้านเช่นการเป็นอยู่และการพัฒนาตัวเองเนื่องจากเรานั้นจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้บุคคนอื่นนั้นเคารพนับถือเราและมีความไว้ว่างใจกับเราเพราะคนที่จะเป็นต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดีศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไปผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอดดังนั้คนที่จะได้คำๆนี้มานั้นก็จะต้องฝันฝาอุปสรรคหลายๆอย่างกว่าจะได้มาดังนั้นเราควรที่จะเอาเป็นแบบอย่างเหมือนกับคำว่าครูในต้นแบบแห่งการเรียนรู้



                        
           
   สิ่งที่รับจากการที่ได้เรียนรู้จากการอ่านบทความ      
 จากการอ่านบทความสิ่งที่ได้  คือ  การเป็นภาวะผู้นำในอดีตกับปัจจุบันยังคงมีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงโดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งการจัดการของคนนั้นหากให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้การสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มากกว่าที่ใช้การจัดการ ภาวะผู้นำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจะให้สำเร็จนั้นจะต้องมีความศรัทธา ในส่วนของวิสัยทัศน์บางครั้งอาจมีน้ำหนักไม่เพียง การสร้างศรัทธาในที่นี้เป็นการสร้าง ความชอบ ความเชื่อ และเรื่องของการยอมรับ ซึ่งมันไม่ต้องมีเหตุผล ในการสร้างศรัทธาในตัวของผู้นำคือ ผู้ให้ ซึ่งผู้ให้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จะเห็นได้ว่าธุรกิจใในปัจจุบันนั้นจะเป็นการแข่งขัน เป้าหมายของการแข็งขันคือชัยชนะ แต่การชัยชนะของผู้นำที่แท้จริงจะมองรางวัลที่ได้เป็นรางวัลของสำหรับทุกคน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีคนที่เป็นผู้นำที่แท้จริงอยู่ ผู้นำในส่วนใหญ่เป็นผู้นำที่มาโดยต่ำแหน่งกันมากกว่า ดั้งนั้นการเป็นผู้นำที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ ซึ่งภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นเรื่องที่คู่กัน  และผู้นำจะต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้ให้ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์งานกันอย่างมีประสิทธิภาพ